การเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยนวัตกรรมยูนิไลฟ์โดย คุณพิเชษฐ์ ศรีเพียงจันทร์ สมาชิกยูนิไลฟ์ จ.สุพรรณบุรี ให้ข้อคิดแรกคือ การทำนา ให้ได้ผลผลิตดีทั้งปริมาณและคุณภาพนั้น คงต้องเริ่มมาจากการจัดการที่ดี…การเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก รวมถึงปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ผสานกับประสบการณ์ของเกษตรกรด้วย มาติดตามเทคนิคการเพิ่มผลผลิต ช่วยลดต้นทุน และสร้างมูลค่าข้าวจากเกษตรกรมืออาชีพ แบบคุณพิเชษฐ์ ทำนาได้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 120 ถังต่อไร่ ผลผลิตปริมาณมาก นำไปขายเมล็ดพันธุ์ข้าวทั้งหมดยังได้ราคาดีอีกด้วยค่ะ
- การวางแผนการจัดการ
- สำรวจพื้นที่เพื่อเตรียมทางเข้า-ออกของน้ำ จะคุมหญ้าให้ได้ผลดีต้องจัดการน้ำได้
- เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว ให้ตรงกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล (ฤดูนี้เกษตรกรใช้พันธุ์ กข 31)
- สำรวจข้อมูลโรคและแมลงศัตรูข้าวที่เคยระบาด เคยมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล บั่ว
- วางแผนการปลูก-การเก็บเกี่ยว จะเริ่มทำนาเมื่อไหร่ นัดหมายแรงงานในการฉีดพ่น
- การแก้ปัญหาเรื่องของพื้นที่
- ดินขาดธาตุอาหาร สภาพกรดจัด แข็งแน่นดาน
วิธีแก้ไข – ปรับปรุงดินด้วย ไบโอ-ซอย เพื่อปรับสภาพกรดให้ลดลงและทำให้ดินร่วนซุยและใช้ปุ๋ยทางใบพ่นในระยะต่างๆ ของข้าวเพื่อเสริมธาตุอาหารที่ขาดทางดินส่วนใหญ่จะใช้ตามเทคนิคภาพ สุดท้ายเสริมด้วย สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” ตามคำแนะนำ
วิธีแก้ไข – ย่ำเทือกหลายๆ ครั้งเพื่อให้วัชพืชจมแล้วหมักไว้โดยใช้ยูเรียผสมกับ สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” หว่าน 5 กก./ไร่ เร่งการย่อยสลายของจุลินทรีย์ดินก็ร่วนซุยดี ปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้มากขึ้นอีกด้วย วิธีนี้หว่านข้าวแล้วข้าวจะไม่เหลืองหรือย่อยตายส่วนข้าววัชพืชใช้ บีโฟ + คัพเวอร์ หยดลงดินพร้อมกับการย่ำเทือกแช่ไว้นานราว 5 วัน ระวังอย่าให้น้ำรั่วจะสามารถคุมการงอกของข้าววัชพืชใต้ดินได้ดีมาก
วิธีแก้ไข – การขุดลอกทางน้ำใหม่ และวางท่อระบายน้ำจุดต่างๆสามารถคุมการเข้า-ออก โดยเฉพาะในช่วงฉีดยาคุม-ฆ่าหญ้า หรือช่วงใส่ปุ๋ยได้
- การคัดเลือกและจัดการเมล็ดพันธุ์
- ควรเลือกเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ เนื่องจากทำนาช้าไปจากเดิมเกือบเดือน
วิธีแก้ไข – ใช้เมล็ดพันธุ์ขยาย ปทุมธานี 80 หรือ กข 31 ที่ช่วงอายุ 120 วัน ต้านทาน เพลี้ยกระโดด อ่อนแอต่อโรคใบไหม้
- การเร่งการงอกของข้าวให้สม่ำเสมอ
วิธีแก้ไข – เลือกเมล็ดพันธุ์จากศูนย์ขยายพันธุ์ข้าว แช่ชีวิวแล้วคัดเมล็ดลีบออกนำไปแช่ 1 คืน หุ้ม 2 คืน ก่อนหว่านราดด้วย ซีวิว, นีโอ-ซิงค์พลัส,คัพเวอร์ หน่อข้าวจะอวบใหญ่ งอกไวกว่าเดิม
ข้าวจะโตสม่ำเสมอกว่าการไม่ราดสาร
- การคุม-ฆ่าหญ้า ลดการงอกของข้าววัชพืช
วิธีแก้ไข – คุมเลนทันทีหลังหว่านข้าวด้วยผลิตภัณฑ์ บิวทาคลอร์, ไบโอ-ซอย เพื่อลดการงอกของข้าววัชพืช หญ้าดอกขาว กกต่างๆปัจจุบันหญ้าดอกขาวพันธุ์สีม่วงค่อนข้างต้านทานยาคุม(แก้ไขได้)
เดิมแปลงนี้งดการทำนา 3 เดือน ทำให้เกิดวัชพืชหลายชนิดและปริมาณมาก ดอกหญ้าเมื่อแก่จะลอยเหนือผิวน้ำและงอกเมื่อสัมผัสดินจึงพ่นคุม-ฆ่าหญ้า ด้วย เซจเจอร์ + พีโพนา70 ส่วนผสม เคาท์ดาว เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ และ ซีวิว เร่งการเจริญเติบโตของข้าว
- การป้องกันแมลงศัตรูข้าว
- เพลี้ยไฟ ตรวจโดยใช้มือจุ่มน้ำแล้วลูบที่ใบข้าวจะมีผงเล็กๆ สีดำติดมือมาจะใช้ เคาท์ดาว
- หนอนม้วนใบ หากพบการระบาดของผีเสื้อควรฉีดยาป้องกันด้วย เคาท์ดาว + นิวทริน55
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ช่วงนี้มีการระบาดในหลายพื้นที่จะใช้ อะวอร์ด40 ป้องกัน
- หนอนกอ ฝนตกความชื้นสูงจะมีการระบาดมากจะใช้ เคสโต ป้องกัน
หมายเหตุ
พบเพลี้ยไฟระบาดในช่วงก่อนหว่านปุ๋ยครั้งแรกเล็กน้อยส่วนแมลงศัตรูอื่นๆ เกือบจะไม่มีเลยทั้งฤดูปลูก
- การป้องกันโรคข้าว
- โรคใบจุดสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อราในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ-ออกรวง จะใช้ เบนเอฟ ป้องกัน
- โรคเมล็ดด่าง ช่วงข้าวตั้งท้อง-ก่อนแทงรวง เป็นช่วงที่ไม่ควรขาด แอนโทรล + รัสโซล
- โรคใบสีส้ม จะพบหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก-ข้าวออกรวงมาจากการขาดธาตุโพแทสเซียม ให้ฉีดพ่นสาร นีโอ-เค +แคลเคลียร์ + ยูนิแพลนท์-แดง เมื่อพบอาการดังกล่าว
หมายเหตุ
สารป้องกันโรคทำให้ข้าวใบสวยตลอด ไม่มีรอยทำลายจากโรค
- การใส่ปุ๋ยและสารบำรุง แปลงนี้ใส่ปุ๋ย 3 ครั้งคือ
ครั้งที่ 1 เมื่อข้าวอายุ 15 วัน แต่ละแปลงจะใส่ปุ๋บและสารบำรุงไม่เท่ากันตามสภาพดิน แต่ที่ใช้หลักๆ จะเป็นการผสม ยูเรีย + 16-20-0 ผสมกับ สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” 10 กระสอบต่อพื้นที่ 40 ไร่ (เนื่องจากไม่มีหน้าดินทำให้ธาตุอาหารต่ำมาก)
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุ 50 วัน ใส่ 16-20-0 + ยูเรีย (3:1) ผสม สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” ตามสูตรโดยเก็บไว้ 2 คืน แล้วหว่าน 15 กระสอบต่อพื้นที่ 40 ไร่
ครั้งที่ 3 หว่านรับรวง ข้าวเริ่มแทงรวงจะหว่าน 16-16-16 จำนวน 4 กระสอบ + ยูเรีย 1 กระสอบ สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” ใส่เพียงไร่ละ 5 กิโลกรัม (คำแนะนำจากนักวิชาการ)
- เทคนิคการพ่นสาร
ควรใช้หัวฉีดรูปพัดในการพ่นยาคุม-ฆ่าหญ้า เพราะทำให้สารกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ให้ใช้หัวฉีดรูปกรวยพ่นสารบำรุงและป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อที่จะปรับหัวฉีดให้ละอองเล็กละเอียด และฟุ้งกระจายทั่วทั้งต้นข้าว
แต่ที่พิเศษคือในช่วงข้าวตั้งท้อง-ออกรวง แล้วไม่ควรกดหัวฉีดให้พุ่งเข้าสู่ต้นข้าวโดยตรง เพราะแรงดันน้ำจะกระแทกต้นข้าวจนทำให้ละอองเกสรร่วงได้ ควรยกหัวฉีดให้สูงกว่ายอดข้าว โดยตั้งให้หัวฉีดขนานกับยอดข้าว โปรยละอองยาให้ฟุ้งเป็นละอองมากที่สุดสามารถกำจัดโรค และแมลงศัตรูรวมทั้งเพิ่มผลผลิตได้
หมายเหตุ-แก้ปัญหาต้นข้าวแตก มีรวงแต่ไม่ติดเมล็ดในกรณีโรคและแมลงศัตรูระบาดช่วงข้าวตากเกสร
- การตรวจตัดข้าวปน
เมื่อพบพันธุ์ปนให้ถอนทิ้งทั้งกอ ควรทำอย่างสม่ำเสมอตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว
- ระยะกล้า – สีใบ ความสูง โรค
- ระยะแตกกอ – ความสูง สีต้น
- ระยะออกดอก – การออกดอก ความสูง
- ระยะโน้มรวง – ลักษณะเมล็ด รวง
- ระยะก่อนเก็บเกี่ยว – ลักษณะเมล็ด ตรวจดูแปลงครั้งสุดท้ายก่อนเกี่ยว
หมายเหตุ แปลงของเราต้นสม่ำเสมอไม่มีทั้งพันธุ์ปนและข้าววัชพืช จึงไม่ได้ตัดพันธุ์ปน
- การเก็บเกี่ยวข้าว
- ระยะ 7-10 วันก่อนเก็บเกี่ยว ควรระบายน้ำออกให้หมด เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยวและช่วยให้ข้าวสุกสม่ำเสมอ
- ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม 28-30 วัน หลังออกดอก เป็นระยะพลับพลึง
- การเก็บเกี่ยว จะเก็บเกี่ยวเป็นแปลง ๆ เมื่อเกี่ยวแล้วให้ผูกป้ายบอกชื่อพันธุ์หากใช้เครื่องเกี่ยวนวดต้องทำความสะอาดเครื่องเกี่ยวนวด ก่อนทำการเก็บเกี่ยวทุกครั้งกรณีที่มีการเปลี่ยนพันธุ์
- หากท่านมีปัญหา อยากสอบถามทุกเรื่อง… ที่เกี่ยวกับ นาข้าว ผมยินดี ให้คำแนะนำและบริการทางวิชาการทุกสายงานครับ พิเชษฐ์ ศรีเพียงจันทร์ โทร. 084-006-3361
play youtube,
xvideos,
xhamster,
vvlx,
xporn,
xnxx,
Are There Sharks In Jamaica,
Next Boxing Fight,
Jelly Walker,
Aaron Judges,
Sofi Banking Reviews,
Proximo Juego De Cuba En El Clasico Mundial De Beisbol,
Jim Carrey Grinch Smoking,
Cut Line Us Open,
German Open,
Cj Thoroughbreds,
Humanoid Spongebob,
New Orlean Pelicans,
Cj Thoroughbreds,
How To Watch Someone Ig Story Without Them Knowing,
Difeel Biotin,
Exchange Rate Dollar To Birr,