homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ด้วงงวงมันเทศ Cylas formicarius Fabricius

     แมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ลำตัวส่วนปีกมีสีน้ำเงินเข้มเป็นมันบริเวณอก ขามีสีอิฐแดง ส่วนหัวยื่นยาวออกมาเป็นงวงและโค้งลง ตัวยาวประมาณ 5-6.5 มิลลิเมตร เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บริเวณหัวและเถาในรอยเจาะใต้ผิวเปลือก ไข่เล็กมาก สีครีม รูปร่างรี หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาว หัวสีน้ำตาล ส่วนใหญ่หัวมันเทศมักถูกทำลายเสียหายจากหนอนวัย 3 ซึ่งโตเต็มที่จะยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร จากนั้นจะเข้าดักแด้บริเวณหัวและเถา

ระยะหนอน (อายุ 11-13 วัน)

ระยะตัวเต็มวัย (อายุ 40-53 วัน) 

ลักษณะการเข้าทำลาย

     ตัวเต็มวัยจะทำลายทุกส่วนของพืช ตัวหนอนทำลายในหัวและเถา หัวมันเทศที่ถูกทำลายจะมีลักษณะเป็นทางคดเคี้ยว มีสีเขียวและสีดำ แม้ถูกทำลายเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถรับประทานได้ เพราะมีกลิ่นเหม็นและรสขม หัวมันเทศที่ถูกทำลายรุนแรงบางครั้งเน่าและมีกลิ่นเหม็น 

การแพร่ระบาด

     ด้วงงวงมันเทศ มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ชอบออกบินในเวลากลางคืน ช่วงเดือนแรกจะเข้าทำลายบริเวณต้นและเถาเท่านั้น เมื่อมันเทศอายุ 1.5 เดือน (ระยะเริ่มมีหัว) จะเริ่มเข้าทำลายหัว แต่บางแหล่งพบเมื่ออายุมันเทศ 2-2.5 เดือน ขึ้นอยู่กับแหล่งปลูก และมักระบาดเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วง

การป้องกันกำจัด

  1. ควรใช้เถามันเทศที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากด้วงงวงมันเทศ
  2. กำจัดวัชพืชที่เป็นตระกูลเดียวกันกับมันเทศ บริเวณรอบๆ แปลงปลูกออกให้หมด
  3. ใช้สารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพพ่นป้องกันทุก 1 เดือน
    แนะนำ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี หรือ ไอมิด้า 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (โดยเริ่มพ่นเมื่ออายุ 1 เดือน)

  1. หลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ เลี่ยงการปลูกซ้ำที่เดิม
  2. ควรปลูกหมุนเวียนโดยใช้พืชต่างตระกูลกับมันเทศ

 

 

แหล่งข้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

           : ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen