homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย…ด้วงหนวดยาวอ้อย

ด้วงหนวดยาว จัดเป็นแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญต่อการปลูกอ้อย โดยสามารถเข้าทำลายอ้อยตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยหนอนของด้วงหนวดยาวจะเข้าไปในส่วนของลำต้นอ้อยที่อยู่ใต้ดิน ทำให้อ้อยแห้งตาย ในอ้อยปลูกหากพบด้วงหนวดยาวเข้าทำลายจะส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง 13-43 % และน้ำตาลลดลง 11-46 % ส่วนอ้อยตอปีที่ 1 จะสูญเสียผลผลิตประมาณ 45 % และน้ำตาลลดลง 57 %

ลักษณะการเข้าทำลาย

   ในระยะเริ่มปลูกอ้อยหนอนจะเจาะชอนไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ ทำให้อ้อยไม่สามารถงอกได้ หรือเมื่ออ้อยอายุ 3-4 เดือน เป็นช่วงเริ่มแตกกอ หนอนจะกัดกินบริเวณโคนอ้อยที่ติดกับเหง้า ทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย ส่วนในอ้อยโตเป็นลำจะพบว่ากาบใบและใบอ้อยแห้งมากกว่าปกติ ตั้งแต่ใบล่างจนแห้งตายไปทั้งต้นหรือทั้งกออ้อย โดยหนอนขนาดเล็กกัดกินบริเวณเหง้าอ้อย เมื่อหนอนโตขึ้นจะเริ่มเจาะไชส่วนโคนของลำอ้อยขึ้นไปเพื่อกินเนื้ออ้อย ทำให้ลำต้นอ้อยเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก ซึ่งส่งผลให้ลำต้นอ้อยหักล้มและแห้งตายได้

การแพร่ระบาด

พบมากในดินร่วนปนทราย  ดินทรายที่มี pH 6.9 ดินมีอินทรียวัตถุ 1.15-1.22 %

การป้องกันและกำจัด

  1. เมื่อมีการไถที่เตรียมดิน ควรเก็บตัวหนอนออกจากพื้นที่ 1-2 ครั้ง
  2. การควบคุมแบบชีววิธีโดยการใช้เชื้อราเมตาไรเซียม โรยลงบนท่อนพันธุ์พร้อมการปลูกอ้อย ในอัตราส่วน 20 กก./ไร่ โดยเชื้อราจะสามารถอยู่ในดินและป้องกันตัวหนอนได้เป็นปี
  3. ปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการปลูกอ้อย เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด ปอเทือง เป็นต้น
  4. ช่วงที่ด้วงหนวดยาวอ้อยเริ่มเป็นตัวเต็มวัยควรขุดหลุมเพื่อดักจับ ประมาณ 40 หลุม/ไร่ โดยเพศเมียจะปล่อยสารล่อเพศผู้ออกมา เพศผู้ก็จะเดินตาม เมื่อตกลงไปในหลุมก็ไม่สามารถขึ้นได้ ควรรองก้นหลุมด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยไปวางไข่
  5. ส่งเสริมให้มีการนำหนอนด้วงหนวดยาวไปประกอบเป็นอาหาร
  6. สูตรที่ยูนิไลฟ์แนะนำ ฟิพเปอร์ 500 ซีซี หรือ นิวทริน55 400-500 ซีซี หรือ แมมมอท 500-800 ซีซี หรือ สตรัค 200-300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen