homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ด้วงแรดในมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน

     แมลงสำคัญของพืชสกุลปาล์มน้ำมันทุกชนิด มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก (Oryctes rhinoceros) และด้วงแรดชนิดใหญ่ (Oryctes gnu)  ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งสีดำเป็นมันวาว ใต้ท้องสีน้ำตาลแดง ลำตัวกว้าง 2 – 2.3 ซม. ยาว 3 – 5.2 ซม. เพศเมียวางไข่ลึกประมาณ 5-15 ซม. เพศเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์แค่ครั้งเดียวสามารถวางไข่ได้นานถึง 130 วัน วางไข่ครั้งละ 10-30 ฟอง (สูงสุด 152 ฟอง) ชอบวางไข่ในที่มีความชื้นพอเหมาะ อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ไข่กลมรี สีขาวนวล หนอนมีลำตัวสีขาว หัวสีน้ำตาลอ่อน โตเต็มที่ยาว 6 – 9 ซม. เมื่อเข้าดักแด้จะหยุดกินอาหารและสร้างรังเป็นโพรง และหดตัวอยู่ภายใน 5-8 วัน จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง วงจรชีวิตรวมแล้วใช้เวลา 4-9 เดือน

 

 

ระยะตัวเต็มวัย (90-120 วัน)

 

ระยะไข่ (1-12 วัน)

 

ระยะหนอน (80-150 วัน)

 

ระยะดักแด้ (23-28 วัน)

ลักษณะการเข้าทำลาย

     ตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากใบใหม่จะแคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นช่องทางให้โรคยอดเน่าเข้าทำลาย ทำให้ต้นตายได้ในที่สุด

     แพร่กระจายได้ทั่วประเทศ เพิ่มจำนวนได้ตลอดทั้งปี ปริมาณขึ้นกับแหล่งเพาะขยายพันธุ์ ฤดูผสมพันธุ์และวางไข่มากที่สุด ระหว่างเดือน มิ.ย- ก.ค. จะพบความเสียหายระหว่างเดือน พ.ย.-พ.ค.

แหล่งขยายพันธุ์

     บริเวณซากเน่าเปื่อยของลำต้นหรือตอของต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ซากพืชที่เน่าเปื่อย เช่น ซากเปลือกมะพร้าวและทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองขุยมะพร้าว กองกากเมล็ดกาแฟ กองขยะ เป็นต้น

การป้องกันกำจัด

  1. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยเผาหรือฝังซากลำต้นและตอของมะพร้าว เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออก (สูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร) ถ้าจำเป็นต้องทำกองมูลสัตว์นานกว่า 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก หรือนำใส่ถุงปุ๋ยมัดปากให้แน่นนำไปเรียงซ้อนกัน
  2. หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอต้นมะพร้าวหรือปาล์ม ตามโคน ทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรู ให้ใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดทิ้ง
  3. ควบคุมโดยใช้กับดักล่อฟีโรโมน เพื่อล่อจับตัวเต็มวัยและนำมาทำลาย
  4. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด แนะนำ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

แหล่งที่มาข้อมูล: กรมวิชาการเกษตร / กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen