homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ระวัง….พืชขาดแคลเซียมโบรอน

     ธาตุอาหารแคลเซียมและโบรอน มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความแข็งแรงของเซลล์พืช การพัฒนายอด การพัฒนาราก การผสมติดของเกสรการเคลื่อนย้ายสารอาหารจากการสังเคราะห์แสงไปสู่ส่วนต่างๆ การสร้างปริมาณและคุณภาพผลผลิต

ลักษณะอาการพืชขาดธาตุแคลเซียม-โบรอน

     ยอดไม่พัฒนา รากสั้น การผสมเกสรน้อย ติดผลน้อย ขั้วไม่แข็งแรง ขั้วแตก ดอกและผลหลุดร่วงง่าย ผลแตก หัวแตก ลำต้นแตก ก้นผลเน่า กุ้งแห้งเทียม เนื้อแก้วยางไหล เมล็ดไม่เต็มฝัก เต่าเผา ไส้ล้ม ไส้กลวง โรคแมลงเข้าทำลายได้ง่าย ความคงทนและอายุการเก็บรักษาผลผลิตไม่นาน

การขาดแคลเซียมโบรอนเกิดจาก 2 สาเหตุ

  1. สภาพกรด-ด่างของดิน

ค่าพีเอชที่เหมาะสำหรับพืชส่วนใหญ่คือ 5.5-6.5 หากดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป แคลเซียมโบรอนไม่สามารถละลายออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ได้ พืชจึงแสดงอาการขาดแคลเซียมโบรอน

ดินกรด

ดินด่าง

  1. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ร้อนจัด หนาวเย็น ฟ้าปิด ฝนตก ลมแรง เนื่องจากแคลเซียมโบรอนเคลื่อนย้ายในท่อน้ำ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมพืชจะปิดปากใบ ไม่คายน้ำ จึงไม่สามารถดึงแคลเซียมโบรอนจากดินไปใช้ประโยชน์ได้ พืชจึงแสดงอาการขาดแคลเซียมโบรอน

สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

การป้องกันแก้ไข

  1. หมั่นเสริมธาตุอาหารแคลเซียม-โบรอน ให้กับพืชเป็นประจำ โดยการใช้ ยูแคลมิกซ์ หรือ หากพบว่าพืชแสดงอาการขาดแคลเซียม-โบรอน ให้ฉีดพ่น ยูแคลมิกซ์ ทุกๆ 3-5 วัน อย่างน้อย 2-3 ครั้ง หรือจนกว่าพืชจะกลับมามีอาการตามปกติ

เครื่องมือฉีดพ่นทั่วไป

ข้าว ข้าวโพด ไม้ผล 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

อ้อย มันสำปะหลัง พืชผัก 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ผักกินหัว มันฝรั่ง ตระกูลหอม 60-80 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

โดรน

ยูแคลมิกซ์ 1 ลิตร  ต่อพื้นที่ 10-15 ไร่

ควรผสมสารเสริมประสิทธิภาพ คัพเวอร์กรีน ด้วยทุกครั้ง

เพื่อแก้ปัญหาน้ำกระด้าง ป้องกันการตกตะกอน ป้องกันใบพืชไหม้

 

  1. ดินที่มีสภาพความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม จนอาจทำให้เกิดการถูกตรึงในดิน พืชไม่สามารถดูดซึมขึ้นมาใช้ได้ จึงต้องปรับปรุงโครงสร้างดินด้วย ไบโอ-ซอย หรือ ยูโอนิกซ์ และเลือกใช้ปุ๋ยที่ไม่ทำให้ดินเป็นกรด อย่าง ปุ๋ยยูโอนิกซ์  เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen