homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ระวัง! โรคเหี่ยว สับปะรด

    โรคเหี่ยวของสับปะรด เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ “เพลี้ยแป้ง” ความรุนแรงของโรคจะเกิดกับสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย คือ มีความอ่อนแอต่อไวรัสโรคเหี่ยวมากที่สุด สร้างความเสียหายรุนแรงในแหล่งปลูกทั่วประเทศ  ส่วนสับปะรดพันธุ์อื่นๆ จะต้านทานโรคนี้ได้ดีกว่า จึงไม่ค่อยจะแสดงอาการของโรค
 

  

   

    โดยอาการเริ่มแรกนั้นจะเกิดกับระบบรากก่อน โดยรากจะไม่มีการสร้างเซลส์ส่วนปลายรากชะงักการเจริญเติบโต และเซลล์รากจะตาย ซึ่งต่อมาเนื้อเยื่อส่วนรากจะเน่า (Rotting) แล้วสับปะรดจะแสดงอาการทางส่วนปลายใบและตัวใบในเวลาต่อมา

 

   

    การแพร่ระบาด การะบาดอย่างรวดเร็วของโรคเหี่ยวเฉาตายของสับปะรดนี้ เป็นเพราะมีการแพร่ระบาดของแมลงพาหะ คือ เพลี้ยแป้ง ที่มีนิสัยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นสับปะรดที่เป็นโรคเหี่ยวตาย สู่ต้นที่ปกติในรูปแบบ ที่มีการกระจายตัวแบบวงกลม มีการขยายจากจุดกลาง (ต้นเกิดโรค) แล้วค่อยๆ ลุกลามไปเรื่อยๆ โดยมีมดเป็นตัวนำเพลี้ยแป้งให้แพร่กระจายสู่ต้นอื่นๆ

 

การป้องกันกำจัด

  • การตรวจสอบดูแปลงสับปะรด หากพบต้นที่แสดงอาการของโรคต้องรีบเก็บเผาทำลายทันที
  • สำหรับสับปะรดที่เป็นโรคแล้ว ควรพ่นป้องกันการระบาดและลุกลามด้วย ซีวิว 300 ซีซี + นีโอไฟต์ 300 ซีซี + เมทาแลกซิล 300 กรัม และใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลง เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ได้ทุกระยะของสับปะรด
  • กำจัดแหล่งวัชพืชข้างเคียงเพื่อทำลายพืชอาศัย (host plant) ซึ่งเพลี้ยแป้งใช้เป็นแหล่งอาหาร
  • อุปกรณ์เครื่องมือ รถแทรกเตอร์ ฯลฯ ต้องทำความสะอาดและตรวจสอบการติดมาของเพลี้ยแป้ง
  • หน่อพันธุ์ จุก ต้องได้จากแหล่งที่ปลอดโรค และทำการจุ่มสารเคมีป้องกันและกำจัดก่อนปลูก
  •  
     

     

     


    
    วิธีสั่งของออนไลน์
    Designed By: josen