ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mythimna separata (Walker)
ลักษณะรูปร่างและวงจรชีวิต
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีน้ำตาลอ่อน วางไข่เป็นกลุ่มตามกาบใบและลำต้นหรือฐานของใบ ระยะไข่นาน 6-8 วัน หนอนที่ฟักออกใหม่กัดกินใบหญ้าอ่อนจนอายุประมาณ 15 วัน จึงเริ่มกัดกินใบและรวงข้าว ระยะหนอนประมาณ 25-30 วัน หนอนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน หนอนเข้าดักแด้ที่โคนกอข้าวหรือตามรอแตกของดิน ดักแด้มีสีน้ำตาลแดง ระยะดักแด้ 10-12 วัน


ลักษณะการเข้าทำลาย
หนอนชอบกัดกินส่วนคอรวงหรือระแง้ของรวงข้าวที่กำลังจะสุก ทำให้คอรวงขาด ทำลายรวงข้าวได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การทำลายคล้ายหนอนกระทู้กล้า มักเข้าทำลายต้นข้าวช่วงกลางคืนหรือตอนพลบค่ำถึงเช้าตรู่ กลางวันอาศัยตามใบหรือโคนต้นข้าวหรือวัชพืชตระกูลหญ้า หนอนจะกัดกินต้นข้าวจนกระทั่งเข้าดักแด้ พบระบาดมากหลังน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก หรือหลังผ่านช่วงแล้งที่ยาวนานแล้วตามด้วยฝนตกหนัก การทำลายจะเสียหายรุนแรง จนชาวนาเรียกกันว่า “หนอนกระทู้ควายพระอินทร์”

หนอนกัดกินระแง้ข้าวขาดร่วงจากรวง / ระแง้ข้าวถูกหนอนกัดร่วงลงพื้น
การป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชรอบๆ แปลงนา
- เมื่อมีการระบาดรุนแรง ตรวจนับพบใบข้าวถูกทำลายกอหรือจุดละ 5 กอหรือ 5 รวงจากข้าว 20 กอหรือจุดสุ่มนับ ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง แนะนำ วอเดอร์ 20 กรัม + คอลลิ่ง 20 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

แหล่งข้อมูล: กรมการข้าว / ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife