
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllocnistis citrella Stainton
ลักษณะรูปร่าง
หนอนชอนใบเข้าทำลายพืชตระกูลส้มทุกชนิด เช่น ส้มโอ มะนาว มะกรูด ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยง ส้มแป้น ส้มจี๊ดฯ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กมาก (6-8 มม.) ตัวสีน้ำตาลปนเทา ปีกมีขนเป็นครุยยาว วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ใกล้เส้นกลางใบทั้งบนใบและใต้ใบ ไข่คล้ายหยดน้ำ สีเหลืองอมเขียวใส จากนั้นฟักเป็นตัวหนอนเจาะเข้าใต้ผิวใบทันที ตัวหนอนสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองเข้ม ระยะสุดท้ายจะถักใยยึดริมขอบใบพับมาคลุมตัว แล้วเข้าดักแด้สีเหลืองเข้มจนถึงน้ำตาล

ผีเสื้อ (ตัวเต็มวัย) หนอนชอนใบส้ม
(ที่มาภาพ: https://entnemdept.ufl.edu)
ลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวหนอนจะเจาะผิวใบ แล้วค่อยๆสอดตัวคืบคลานเข้ากัดกินเนื้อเยื่อใบ 7-10 วัน จนใบกลายเป็นลายเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมาตามทางที่หนอนเดิน ใบบิดเบี้ยวผิดรูป หงิกงอ ขอบใบม้วนเข้า ทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล นอกจากนี้บริเวณรอยแผลจะเป็นช่องทางให้โรคทำลายซ้ำ เช่น โรคแคงเกอร์ที่มักเกิดในพืชตระกูลส้ม หากระบาดมากหนอนจะเข้าทำลายกิ่งอ่อนและผลอ่อนด้วย ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต สร้างความเสียหายมากโดยเฉพาะช่วงแตกใบอ่อน

รอยทำลายใต้ใบ / ลักษณะอาการโรคเข้าทำลายซ้ำทางรอยแผล

ใบบิดเบี้ยวแคระแกรน / ลักษณะการทำลายที่ผลอ่อน
การแพร่ระบาด
สามารถเข้าทำลายได้ตลอดปี ในฤดูฝนทำได้ได้สูงถึง 90-100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ทำลายได้ 20 เปอร์เซ็นต์
การป้องกันกำจัด
- สำรวจแปลงสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- เก็บยอดหรือใบที่ถูกทำลาย ไปทิ้งนอกแปลง
- หากหนอนทำลายมากกว่า 3 ใบ หรือเกิน 50% ของยอด ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด
– เริ่มพบตัวเต็มวัย: วอเดอร์ 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อคุมไข่ ลดการวางไข่ของตัวเต็มวัย
– เริ่มพบหนอนเข้าทำลาย: วอเดอร์ 200 กรัม + (เคาท์ดาว 150 ซีซี หรือ ไอมิด้า 20 กรัม หรือ ฟิพเปอร์ 200 ซีซี ) ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นสลับกันทุก 7-14 วัน เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลง คุมไข่ ยับยั้งการลอกคราบ กำจัดหนอน ลดการแพร่ระบาด
- ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคร่วมด้วย เพื่อป้องกันโรคแคงเกอร์เข้าทำลายซ้ำทางบาดแผล แนะนำ ไมโครบลูคอป 200 กรัม หรือ มิลล่า 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife