homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

หนอนม้วนใบข้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cnaphalocrocis medinalis Guenee

รูปร่างลักษณะ

     ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสีน้ำตาลเหลืองมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก กลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ เพศเมียวางไข่บนใบข้าวในเวลากลางคืนประมาณ 300 ฟอง ไข่ลักษณะเป็นรูปจานสีขาวขุ่นเป็นกลุ่มประมาณ 10-12 ฟอง บางครั้งวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ 4-6 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆมีสีขาวใส หัวสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส หนอนมี 5 ระยะ หนอนวัย 5 จะกินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะหนอน 15-17 วัน จากนั้นจะเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัว 4-8 วัน ตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนบนต้นข้าวและวัชพืชตระกูลหญ้าในเวลากลางวัน และบินหนีเมื่อถูกรบกวน

ผีเสื้อตัวเต็มวัยหนอนม้วนใบข้าว

ตัวหนอนม้วนใบข้าว

ลักษณะการทำลาย

     หนอนเข้าทำลายข้าวได้ทุกระยะ เริ่มตั้งแต่ระยะกล้าหนอนจะกัดกินส่วนสีเขียวของใบ ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว ข้าวจะสังเคราะห์แสงลดลง และหนอนจะใช้ใยเหนียวดึงขอบใบข้าวเข้าหากันเพื่อห่อหุ้มตัวและกัดกินใบอยู่ภายใน ในระยะออกรวงหนอนจะทำลายใบธง ส่งผลให้ข้าวเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง หนอนห่อใบสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก หากไม่ป้องกันกำจัดจะเกิดการระบาดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

ตัวหนอนแทะกินผิวใบ เห็นแถบยาวสีขาว กระทบการสังเคราะห์แสง

หนอนสร้างเส้นใย และดึงขอบใบเข้าหากัน กัดกินใบอยู่ภายใน

การป้องกันกำจัด

  1. เมื่อเริ่มพบผีเสื้อหนอนห่อใบข้าว แนะนำ วอเดอร์ 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยคุมไข่ ลดการวางไข่ของตัวเต็มวัย ลดการระบาดของหนอน
  2. เมื่อเริ่มพบผีเสื้อหนอนห่อใบข้าว 4-5 ตัวต่อตารางเมตร และพบใบข้าวถูกทำลายมากกว่า 15% แนะนำ วอเดอร์ 30 กรัม + ฟิพเปอร์ 30 ซีซี หรือ วอเดอร์ 30 กรัม + คอลลิ่ง 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้งห่างกัน 5-7 วัน ช่วยลดการวางไข่ของตัวเต็มวัย ยับยั้งการลอกคราบ กำจัดหนอนครบวงจร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen