หนอนที่เข้าทำลายดอกทุเรียนมีหลากหลายชนิด เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยกินดอก หนอนกระทู้ผัก และกลุ่มหนอนผีเสื้อกลางวันขนาดเล็กหลายชนิด โดยตัวเต็มวัยจะวางไข่บนดอก เมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินทำลายอยู่ภายในดอก

ทำความรู้จักหนอนใยกินดอกทุเรียน
หนอนใยกินดอกทุเรียน (Autoba versicolor Walker syn. Eublema versicolora Walker) เป็นแมลงสำคัญที่อีกชนิดที่เข้าทำลายช่วงที่ดอกทุเรียนยังไม่บาน หนอนมีลักษณะหัวสีน้ำตาลอ่อน ลำตัวยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร สีเขียวปนเหลือง จะสร้างใยยึดดอกติดกัน กัดกินภายในดอก และเจาะก้านดอกเป็นรู ดอกที่ถูกทำลายจะมองเห็นได้ง่าย โดยจะเห็นมูลของหนอนออกมาอยู่ข้างนอกดอก ระยะต่อมาดอกนั้นจะแห้งและร่วงหล่นไป

ผีเสื้อตัวเต็มวัย

ระยะตัวหนอน
การป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจแปลงอยู่เสมอ เมื่อเริ่มพบตัวเต็มวัยป้องกันด้วย วอเดอร์ 300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร จะช่วยในการคุมไข่ ลดการวางไข่ของตัวเต็มวัย
- เมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของหนอนใช้ วอเดอร์ 300 กรัม + (คอลลิ่ง 200 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อกำจัดตัวหนอน ยับยั้งการลอกคราบ ตัดวงจรการระบาดของหนอน

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife