
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera frugiperda
วงจรชีวิตและลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน วงจรชีวิตประมาณ 30 – 40 วัน กลางคืนผีเสื้อจะวางไข่เป็นกลุ่มประมาณ 100 – 200 ฟอง (เพศเมีย 1 ตัววางไข่ได้ประมาณ 1,500-2,000 ฟอง) เริ่มวางไข่ตั้งแต่ข้าวโพดงอก 3-4 วัน ทั้งบนใบ ใต้ใบ และลำต้น หลังจากฟักไข่แล้วหนอนจะรวมกลุ่มกัดกินผิวใบ เห็นรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบตั้งแต่ข้าวโพดอายุ 6-7 วัน เมื่อหนอนโตขึ้นจะยิ่งทำความเสียหายมาก เข้ากัดกินอยู่ในยอด ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด กัดกินเกสร กัดกินฝัก ไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินอยู่ภายใน หากเจอภาวะร้อนแล้งฝนทิ้งช่วงจะหลบอาศัยใต้ผิวดิน กัดกินส่วนโคน เกิดอาการยอดเหี่ยว ต้นตาย หรือไม่เจริญเติบโต ฝักลีบเล็กไม่สมบูรณ์ หากระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้มากถึง 73 %

ระยะตัวเต็มวัย 10-21 วัน ระยะไข่ 2-3 วัน

ระยะหนอน 14-22 วัน ระยะดักแด้ 7-13 วัน

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดมีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง มันฝรั่ง กล้วย ฝ้าย ยาสูบ ทานตะวัน ปอเทือง พริก มะเขือเทศ พืชวงศ์กะหล่ำ พืชวงศ์แตง พืชวงศ์ถั่ว ขิง ผักชีฝรั่ง มะระ กระเทียม และพืชผักอีกหลายชนิด แต่มักวางไข่สูงสุดบนต้นข้าวโพด
การป้องกันกำจัด
- สำรวจสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หากพบกลุ่มไข่และหนอนนำไปทำลายนอกแปลง
- เมื่อเริ่มพบผีเสื้อบิน แนะนำ วอเดอร์ 300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อคุมไข่หนอน ผีเสื้อวางไข่น้อยลง
- หากเริ่มพบการเข้าทำลาย แนะนำ วอเดอร์ 300 กรัม + (ดีฟีส50 500 ซีซี หรือ คอลลิ่ง 300 ซีซี หรือ ไตรฟอส 300 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี หรือ ไซปรอย35 200 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 5 -7 วัน เพื่อกำจัดหนอน คุมไข่ ยับยั้งการลอกคราบ ลดการระบาดภายในแปลง

**เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารเคมีกลุ่มเดิมพ่นติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง**
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife