
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera frugiperda JE Smith
วงจรชีวิตและลักษณะการเข้าทำลาย
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด นอกจากจะเข้าทำลายข้าวโพดแล้วยังมีพืชอาศัยที่เป็นแหล่งอาหารมากกว่า 80 ชนิด รวมถึงอ้อย วงจรชีวิตหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดใช้เวลา 30-40 วัน โดยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน 10-21 วัน ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ 1,500 – 2,000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน ระยะหนอน 14-22 วัน หนอนโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวยาว 3.2-4 เซนติเมตร มีลักษณะเด่นตรงปล้องท้องก่อนปล้องสุดท้ายมีจุดสีดำ 4 จุด จากนั้นหนอนจะทิ้งตัวเข้าดักแด้ในดิน ระยะดักแด้ 7-13 วัน การเข้าทำลายของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในอ้อย มักจะกัดกินอยู่ในยอดอ้อย ทำให้ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด และจะพบตัวหนอนหลบซ่อนอยู่ที่ยอดหรือโคนกาบอ้อย

การป้องกันกำจัด
- ไถพรวนและตากดินก่อนปลูก เพื่อกำจัดระยะดักแด้ที่อยู่ในดิน
- หมั่นสำรวจแปลง หากพบกลุ่มไข่หรือตัวหนอนให้เก็บและทำลายทันที
- ติดกับดักแสงไฟบริเวณขอบแปลง ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย เพื่อลดการวางไข่
- เมื่อเริ่มพบตัวเต็มวัย ใช้สารเคมีกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนโดยเฉพาะ คุมไข่หนอน ลดการระบาดในแปลง แนะนำ วอเดอร์ 300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร
- เมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของหนอน แนะนำ วอเดอร์ 300 กรัม + (เวนเวิร์ธ 500 ซีซี หรือ ดีฟีส50 500 ซีซี หรือ ไตรฟอส 500 ซีซี หรือ คอลลิ่ง 250 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร ช่วยคุมไข่หนอน ยับยั้งการลอกคราบ กำจัดตัวเต็มวัย ตัดวงจรหนอนเด็ดขาด

หมายเหตุ
– เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารกลุ่มเดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสาร ควรผสมคัพเวอร์กรีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมสารทุกครั้ง
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife