ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera exigua Hubner
ความสำคัญและการเข้าทำลาย
หนอนกระทู้หอม เป็นศัตรูสำคัญเข้าทำลายพืชหลายชนิด เช่น พืชตระกูลหอม (หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ฯ) พืชตระกูลกะหล่ำ (คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักกาดหัวฯ) พริก หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ข้าวโพด องุ่น ไม้ดอก (กุหลาบ ดาวเรือง กล้วยไม้) เป็นต้น
ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในเวลากลางคืน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะเริ่มแทะกินผิวใบพืช เมื่อหนอนโตขึ้นสามารถเข้ากัดกินได้ทุกส่วนของพืช หากมีหนอนปริมาณมากผลผลิตจะเสียหายและคุณภาพไม่เป็นที่ต้องการของตลาด หากระบาดรุนแรงจะทำให้ต้นตายได้





การป้องกันกำจัด
- เก็บส่วนที่ถูกทำลาย และตัวหนอน กลุ่มไข่ หรือดักแด้ของหนอน ทำลายทิ้งนอกแปลง
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดหนอน แนะนำ วอเดอร์ 300 กรัม + (เวนเวิร์ธ 400 ซีซี หรือ คอลลิ่ง 300 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 500 ซีซี หรือ ดีฟีส50 500 ซีซี หรือ ไตรฟอส 500 ซีซี หรือ ไซปรอย35 300 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร ช่วยคุมไข่ ยับยั้งการลอกคราบ กำจัดตัวเต็มวัย ตัดวงจรการระบาดของหนอนอย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ
– เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารกลุ่มเดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสาร ควรผสมคัพเวอร์กรีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมสารทุกครั้ง
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife