

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nilaparvata lugens (Stål))
ลักษณะการเข้าทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ข้าวมีอาการใบเหลืองแห้ง ลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก”อาการไหม้” (hopper burn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ในแปลงที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้ยังเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัส “โรคใบหงิกหรือโรคจู๋” ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียวแคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียว และขอบใบแหว่งวิ่น




อาการไหม้ (hopper burn) หากระบาดรุนแรง ข้าวเสียหายมาก

อาการใบบิดเป็นเกลียว

การป้องกันกำจัด
- ปลูกข้าวพันธุ์ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2 สุพรรณบุรี90 สุพรรณบุรี60 ปทุมธานี1 พิษณุโลก2 ชัยนาท1 ชัยนาท2 กข29 และ กข31 (ไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก)
- ไม่ควรหว่านข้าวแน่นเกินไป (15 กก./ไร่) หรือปลูกแบบนาดำเพื่อให้ต้นข้าวแข็งแรงและพ่นสารได้ทั่วถึง
- ระบายน้ำเข้า-ออกนาเป็นครั้งคราว เพื่อไม่ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นอวบน้ำ เหมาะแก่การดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- หากมีการระบาดในพื้นที่ใกล้เคียง ควรป้องกันด้วย อะวอร์ด40เอสซี 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งปลอดภัยต่อมวนเขียวดูดไข่ (แมลงตัวห้ำที่ช่วยกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล)
- หากเริ่มพบการระบาด 10 ตัว/กอ หรือ 1 ตัว/ต้น แนะนำดังนี้
6.1 ระยะข้าวเล็ก
อะวอร์ด40เอสซี 15 ซีซี + (เท็นสตาร์ 20 ซีซี หรือ ไอมิด้า 4 กรัม หรือ ไฮ-นิว20 20 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี) ต่อน้ำ 20 ลิตร

6.2 ระยะข้าวใหญ่
อะวอร์ด40เอสซี 15 ซีซี + (ฟินิช 50 ซีซี หรือ ดีฟีส50 40 ซีซี หรือ ไฮ-นิว20 20 ซีซี หรือ เท็นสตาร์ 20 ซีซี หรือ ไอมิด้า 4 กรัม หรือ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี) ต่อน้ำ 20 ลิตร

หมายเหตุ
– เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารกลุ่มเดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสาร ควรผสมคัพเวอร์กรีน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนผสมสารทุกครั้ง
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife