เตือนเกษตรกรผู้ปลูกดาวเรืองในทุกภาคของประเทศ เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการเกิดโรคดอกเน่า โดยเฉพาะดาวเรืองที่อยู่ในระยะเริ่มออกดอกถึงระยะดอกบาน ซึ่งมักพบโรคนี้ระบาดในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงสภาพอากาศมีความชื้นสูง โรคดอกเน่าเป็นโรคที่สำคัญ และทำความเสียหายแก่ดอกดาวเรืองทำให้ไม่สามารถเก็บผลิตขายได้ ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงดาวเรืองอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการ ให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านเพื่อหาแนวทางดำเนินการควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Alternaria sp.
เชื้อรา Botrytis sp.
เชื้อรา Colletotrichum sp.
ลักษณะอาการ
อาการที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp. จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ออกตุ่มดอก จนถึงช่วงที่ดอกกำลังพัฒนา เชื้อราเข้าทำลายก้านดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอก ทำให้กลีบเลี้ยงไหม้เป็นสีน้ำตาล โดยเฉพาะส่วนของกลีบดอกจะทำให้กลีบดอกช้ำ ในฤดูฝนกลีบดอกจะไหม้เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล แผลเน่าแห้งมีผงเชื้อราสีเทาหรือดำขึ้นปกคลุมอยู่บนกลีบดอก ถ้าเชื้อเข้าทำลายช่วงดอกกำลังบานจะทำให้กลีบเลี้ยงเน่ารัดตัว ดอกไม่บานหรือทำลายบริเวณฐานรองดอกจะมีแผลสีน้ำตาลอ่อนข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้ลักษณะดอกดาวเรืองที่เป็นโรคนั้นบานครึ่งเดียว
อาการที่เกิดจากเชื้อรา Botrytis sp. จะเกิดขึ้นหลังดอกบานเต็มที่แล้ว โดยบริเวณกลางดอก โคนดอกกลีบดาวเรืองจะเริ่มมีแผลสีน้ำตาล และจะลามไปทั้งดอก ทำให้ดอกเน่าแฉะ ตอนเช้าอาจสังเกตเห็นก้านชูสปอร์ และสปอร์ของเชื้อรางอกอยู่บริเวณแผลโดยสปอร์จะปลิวไปตามลม ทำให้เกิดการระบาดทั่วทั้งแปลง
อาการที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. หากเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็นดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบาน หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานอาการเน่าเป็นวงแหวน บริเวณกลางดอก โดยดอกที่เกิดโรคกลีบดอกจะเน่าเป็นสีน้ำตาลลามเข้าไปทางโคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น
การแพร่ระบาด
สปอร์ของเชื้อราจะติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ปลิวไปตามลม และแพร่กระจายไปกับน้ำที่รด หรือกระเด็นไปกับน้ำฝน พบการเกิดโรคตลอดปี จะทำความเสียหายในฤดูฝนช่วงความชื้นสูง
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
1. สำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ
2. หากพบว่ามีอาการของโรคภายในแปลงปลูกให้เก็บแล้วเผาทำลายเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไปยังต้นอื่นๆ
3. ให้ระมัดระวังการให้น้ำ อย่าให้ชุ่มมากจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีอากาศร้อน นอกจากนี้ในแปลงปลูกหากสามารถใช้ระบบน้ำหยด จะสามารถ ลดการเปียกของต้นทำให้ลดการระบาดของโรคได้เป็นอย่างมาก
4. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รดแปลง หรือพ่นให้ต้นพืช ทุก 15 วัน
5. ถ้าระบาดมาก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่ยูนิไลฟ์แนะนำ บิซโทร 300-400 กรัม หรือ เบนเอฟ 200 ซีซี หรือ รัสโซล 150 ซีซี หรือ อะซอกซีสโตรบิน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง
ที่มา: สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
play youtube,
xvideos,
xhamster,
vvlx,
xporn,
xnxx,
Are There Sharks In Jamaica,
Next Boxing Fight,
Jelly Walker,
Aaron Judges,
Sofi Banking Reviews,
Proximo Juego De Cuba En El Clasico Mundial De Beisbol,
Jim Carrey Grinch Smoking,
Cut Line Us Open,
German Open,
Cj Thoroughbreds,
Humanoid Spongebob,
New Orlean Pelicans,
Cj Thoroughbreds,
How To Watch Someone Ig Story Without Them Knowing,
Difeel Biotin,
Exchange Rate Dollar To Birr,