ลักษณะอาการ
เริ่มแรกใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่อรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขูดดูบริเวณรากจะพบการแตกรากฝอยมากผิดปกติ แสดงอาการเน่า มีลักษณะเปลือกล่อนหรือรากถอดปลอก และเปื่อยยุ่ยขาดง่าย รากสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เนื้อเยื่อด้านในเป็นสีน้ำตาลดำ เมื่อเป็นโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น หรืออาจลุกลามขึ้นลำต้น แผลสีน้ำตาลไปจนถึงสีน้ำตาลปนม่วง ลักษณะฉ่ำน้ำ สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือก ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงเยิ้มออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อยๆแห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบจะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล หากแผลลุกลามรอบโคนต้นจะทำให้ต้นโทรม ใบร่วงหมดต้นและยืนต้นตายได้ ต้นที่ถูกทำลายมักพบรูพรุน ซึ่งเป็นการเข้าทำลายของมอด และมอดจะเป็นตัวการในการแพร่กระจายเชื้อไปยังส่วนอื่นของต้นต่อไป
เชื้อสาเหตุ: เกิดจากเชื้อราหลายชนิด ได้แก่ ไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora), พิเทียม (Pythium spp.) ไฟโตพิเทียม (Phytopythium spp.) และฟิวซาเรียม (Fusarium spp.)
อาการรากเน่า เปื่อยยุ่ย หลุดร่อนง่าย เนื้อเยื่อภายในสีน้ำตาลดำ
รอยแผลมีน้ำเยิ้มเปลือกสีน้ำตาลดำ เมื่อถากเปลือกออกดู พบเนื้อเยื่อภายในเสียหาย
การแพร่ระบาด
เชื้อราจะแพร่กระจายในอากาศไปตามลม น้ำและฝน เนื่องจากเชื้อราสร้างสปอร์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปตามน้ำได้เรียก ซูโอสปอร์ (zoospore) และสร้างสปอร์ที่สามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานานเรียกว่าคลาไมโดสปอร์ (chlamydospore) เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็สามารถงอกเส้นใยเข้าทำลายพืชได้ โรครากเน่าโคนเน่าระบาดได้ดีช่วงที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูง
ระบบรากเสียหาย ท่อน้ำท่ออาหารเสียหาย แสดงอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรมและยืนต้นตายได้
การป้องกันกำจัด
- แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง
- ปรับปรุงสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรดด่างของดินประมาณ 6.5 การใช้ ปุ๋ยยูโอนิกซ์ หรือชุดเรียกราก (ยูโอนิกซ์ + ยูเฟียต) อยู่เสมอจะส่งเสริมให้ดินไม่เป็นกรด และส่งเสริมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินช่วยแข่งขันกับเชื้อก่อโรค
- กระตุ้นการเกิดรากใหม่ทดแทนรากเดิมที่เสียหายด้วย ยูโอนิกซ์ 300 ซีซี + ยูเฟียต 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคทางดิน มิลล่า 300 ซีซี สลับ ซับลา 300 กรัม สลับ คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นหรือราดทางดินรอบชายพุ่ม 2-3 ครั้ง ห่างกันทุก 10-15 วัน
- กรณีรอยแผลเล็ก ถากแผลบริเวณที่เป็นโรคออกเล็กน้อยให้แผลเรียบ แล้วทาด้วย ซับลา 50 กรัม สลับ อินดีฟ 100 ซีซี สลับ ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 50 กรัม สลับ คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 30 ซีซี ร่วมกับการกำจัดมอดและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ด้วย ไซปรอย35 20 ซีซี + ซีวิว 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ทาบริเวณแผลทุก 5-7 วัน จนกว่าแผลจะหยุดลุกลาม หากมีฝนตกชุกหรือความชื้นสูงควรทาให้ถี่ขึ้น
- กรณีรอยแผลใหญ่หรือสูง ถากแผลบริเวณที่เป็นโรคออกเล็กน้อยให้แผลเรียบในบริเวณที่ถากถึง แล้วฉีดพ่นด้วย ซับลา 300 กรัม สลับ อินดีฟ 100 ซีซี สลับ ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 400 กรัม สลับ คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ร่วมกับการกำจัดมอดและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ด้วย ไซปรอย35 200 ซีซี + ซีวิว 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นอาบโชกทั่วลำต้นทุก 7-10 วัน จนกว่าแผลจะหยุดลุกลาม หากมีฝนตกชุกหรือความชื้นสูงควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสาร ควรผสม คัพเวอร์กรีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมสารทุกครั้ง
- เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารกลุ่มเดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife