
เชื้อสาเหตุ: เชื้อไวรัส Pineapple mealybug wilt-associated virus (PMWaV)
ลักษณะอาการ
โรคเหี่ยวสับปะรด หรือเกษตรกรมักเรียกว่า “โรคเอ๋อ” อาการเริ่มแรกเกิดกับระบบราก เซลล์รากตาย เนื้อเยื่อรากเน่า จากนั้นจะแสดงอาการทางใบ ใบจะอ่อนนิ่ม สีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อน ปลายใบแห้งเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีแดงลามสู่โคนใบ ใบลู่ลง แผ่แบน ใบไม่ตั้งเหมือนปกติ ใบหักงอ ต้นเหี่ยวและแห้งตาย รากสั้นกุด ถอนต้นออกได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อผลผลผลิต ทำให้ผลไม่พัฒนา ผลขนาดเล็ก หากรุนแรงจะไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ หากปลูกด้วยหน่อจะเริ่มพบอาการเหี่ยวในระยะ 6 เดือนขึ้นไป แต่กรณีปลูกด้วยจุกจะพบอาการในระยะประมาณ 1 ปี พบการระบาดในแปลงต้นตอสูงกว่าแปลงต้นปลูก และสภาพอากาศแห้งแล้งรุนแรงจะยิ่งทำให้เกิดโรครุนแรง

ลักษณะอาการรากเน่าดำ

อาการเหี่ยวใบลู่ ทำให้ผลผลิตเสียหาย
แมลงพาหะและการแพร่ระบาด
โรคเหี่ยวในสับปะรดมีเพลี้ยแป้ง 2 ชนิด เป็นแมลงพาหะ คือ เพลี้ยแป้งสีชมพูและเพลี้ยแป้งสีเทา ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคแล้วแพร่เชื้อต่อไปสู่ต้นที่ปกติ ทำให้โรคระบาดลุกลาม เชื้อไวรัสจะเข้าฟักตัวในต้นสับปะรดและแสดงอาการเมื่อพืชอ่อนแอหรือสภาพแวดล้อมเหมาะสม มักเกิดรุนแรงในพันธุ์ปัตตาเวีย

แนวทางการป้องกันแก้ไข
ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีที่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสหลังแพร่กระจายในต้นพืชได้ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรป้องกันการแพร่ระบาดเสียแต่เนิ่นๆ
- ช่วงเตรียมดิน ให้ตัดต้นและปั่นตอเก่าทิ้งไว้ 2-3 เดือน จากนั้นไถและพรวนดิน 1-2 ครั้ง และเก็บเศษซากพืชทำลายทิ้งนอกแปลง
- หลีกเลี่ยงการนำหน่อหรือจุกพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรคไปปลูกหรือขยายพันธุ์ในแหล่งที่ยังไม่มีโรคระบาด เพราะอาจมีไวรัสแฝงอยู่แม้จะไม่แสดงอาการของโรค
- ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและโรคก่อนปลูก แนะนำ (ไอมิด้า 20 กรัม หรือ เท็นสตาร์ 100 ซีซี) + แท็บอิน 300 กรัม + ซีวิว 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดใส่หน่อหรือจุก พอให้น้ำไหลเข้ากาบ แล้วค่อยยกไปปลูก เพื่อป้องกันกำจัดแมลงและโรค หน่อคุณภาพดี ตั้งตัวเร็ว ทนแล้ง
- ตรวจแปลงเสมออย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง หากพบต้นที่แสดงอาการของโรคต้องรีบเก็บเผาทำลาย และพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงพาหะแนะนำ อะวอร์ด40เอสซี 100 ซีซี + (ไอมิด้า 20 กรัม หรือ เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ อะซีทามิพริด20 100 กรัม หรือ ดีฟีส50 200 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร
- สร้างความแข็งแรงให้เซลล์พืช ลดการเข้าทำลายของโรค แนะนำ ยูแคลมิกซ์ 200 ซีซี หรือ นีโอ-ไอแคล 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

หมายเหตุ
– เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารกลุ่มเดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสาร ควรผสมคัพเวอร์กรีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมสารทุกครั้ง
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife