homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย…โรคเหี่ยวสับปะรด

สาเหตุ   เชื้อไวรัส Pineapple Mealybug Wilt-associated Virus

อาการของโรค

โรคเหี่ยวสัปปะรด หรือ โรคเอ๋อ  อาการแรกนั้นเกิดกับระบบรากก่อน โดยรากจะไม่มีการสร้างเซลล์ส่วนปลายรากชะงักการเจริญเติบโต   รากจะไม่ทํางานและเซลล์จะตายซึ่งต่อมาเนื้อเยื่อส่วนรากจะเน่า สับปะรดจะแสดงอาการให้เห็นทางส่วนปลายใบและตัวใบในเวลาต่อมา   คือ ใบจะอ่อนนิ่ม  มีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อน  ปลายใบแห้งเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีแดงลามสู่โคนใบ   ใบลู่ลง แผ่แบนไม่ตั้งขึ้นเหมือนใบปกติต่อมาต้นเหี่ยวและแห้ง  รากสั้นกุดถอนต้นง่าย การทําลายเริ่มตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวทั้งในแปลงต้นปลูกและแปลงต้นตอสับปะรดจะแสดงอาการของโรคเด่นชัดหลังการบังคับดอก   โดยผลสับปะรดจะไม่พัฒนามีขนาดเล็ก   การทําลายทําให้คุณภาพและผลผลิตเสียหายมากไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้  ความรุนแรงของโรคเหี่ยวจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ  ระยะการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของสับปะรดและเป็นที่น่าสังเกตว่าในระยะ 1-4 เดือนแรกสับปะรดจะมีการเจริญเติบโตปกติ หลังจากนั้นอาจแสดงอาการเหี่ยวเฉาอย่าง รวดเร็ว (Quick wilt) โดยสับปะรดจะเหี่ยวจากปลายใบแล้วลุกลามสู่ ตัวใบ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแดงชมพู (Reddish-yellow) หรือเหลืองจัด (Necrosis) ใบหักงอและจะตายในที่สุด

การแพร่ระบาด

โรคเหี่ยวของสับปะรดมีเพลี้ยแป้งเป็นพาหะนําเชื้อไวรัสสู่ต้นสับปะรดโดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นสับปะรดที่เป็นโรคเหี่ยวสู่ต้นที่ปกติในรูปแบบการกระจายตัวแบบวงกลม มีการขยายจากจุดกลาง (ต้นเกิดโรค) แล้วค่อยๆ ลุกลามไปเรื่อยๆ โดยมีมดเป็นตัวการนําเพลี้ยแป้งสู่ต้นอื่นๆ ขณะที่บางช่วงอายุเพลี้ยแป้งจะสร้างปีกบินได้จึงสามารถอพยพสู่ต้นสับปะรดอื่นๆ ได้เช่นกัน  เชื้อไวรัสจะเข้าฟักตัวอยู่ในต้นสับปะรดและจะแสดงอาการเมื่อสับปะรดอ่อนแอ หรือสภาพแวดล้อมเหมาะสม

      

แนวทางการป้องกันกําจัด

  1. การเขตกรรม คือการทําความสะอาดแปลงปลูก โดยการไถกลบซากวัชพืชให้หมดโดยเร็วที่สุด   เพื่อทําลายตัวแก่และแมลงพาหะ
  2. การตรวจสอบดูแปลงสับปะรด หากพบต้นที่แสดงอาการของโรคต้องรีบเก็บเผาทําลายทันที
  3. กําจัดแหล่งวัชพืชข้างเคียงเพื่อทําลายพืชอาศัย (host plant) ซึ่งเพลี้ยแป้งใช้เป็นแหล่งอาหาร
  4. อุปกรณ์เครื่องมือ  รถแทรกเตอร์ ฯลฯ จําเป็นต้องทําความสะอาดและตรวจสอบการปนเปื้อน/  ติดมาของเพลี้ยแป้ง


วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen