
เกิดจาก : เชื้อรา Colletotrichum falcatum และ Fusarium moniliformeae
ลักษณะอาการ
โรคเหี่ยวเน่าแดงสามารถเข้าทำลายอ้อยทุกส่วน ตั้งแต่เป็นท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์เน่าไม่งอก อาการบนใบจะเริ่มต้นเป็นจุดยาวบนเส้นกลางใบ มีสีน้ำตาลแดงเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีฟางที่มีขอบสีม่วง หรือเกิดเป็นจุดแดงเล็กๆ บนเนื้อใบ หรือเกิดเป็นรอยปื้นแดงบนกาบใบและเส้นกลางใบแดง ส่วนที่สำคัญและเสียหายมากที่สุดคือ การเข้าทำลายที่ลำต้น โดยบริเวณปล้องที่เชื้อเข้าทำลายจะเกิดเป็นสีม่วงที่ภายนอก ต่อมาจะมีอาการใบเหลืองและแห้งตาย เมื่อผ่าดูตามความยาวของลำจะเห็นอาการภายในเนื้ออ้อยมีสีแดง พันธุ์อ่อนแอจะมีจุดแต้มสีขาวเป็นจ้ำคั่นในรอยแผลและส่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
การแพร่ระบาด
ระบาดไปกับต้นพันธุ์ หรือเชื้อเข้าทำลายได้ตามรอยแผลที่เกิดจากหนอนหรือแผลแตกของลำ โรคจะระบาดรุนแรงในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง


การป้องกันกำจัด
- ไถแปลงอ้อยที่เป็นโรครุนแรงทิ้งและคราดตออ้อยเก่าออกให้หมด
- ใช้พันธุ์ต้านทาน ในพื้นที่เป็นเป็นโรคควรปลูกพันธุ์ต้านทาน เช่น LK92-11 หรือ K84-200
- ปลูกพืชหมุนเวียน ยกเว้นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วเขียว
- ใช้สารป้องกันกำจัดโรค แนะนำ รัสโซล 200 ซีซี หรือ วาลิดามัยซิน 300 ซีซี หรือ มิลล่า 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นห่างกัน 7-10 วันครั้ง

หมายเหตุ
– เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารกลุ่มเดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสาร ควรผสมคัพเวอร์กรีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมสารทุกครั้ง
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife