
โรคใบขาวของอ้อยเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา เป็นเชื้อที่เจริญเติบโตอยู่ในต้นอ้อยหรือในแมลงพาหะปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีชนิดใดสามารถรักษาอ้อยที่แสดงอาการของโรคใบขาวให้หายได้


อาการของโรคพบได้ทุกระยะ แต่มักพบมากในระยะแตกกอ อาการเริ่มแรกใบจะมีสีขาวตามแนวยาวของเส้นกลางใบ จากนั้นใบจะกลายเป็นเส้นสีขาวหรือสีเหลืองสลับสีเขียวขนานไปตามเส้นกลางใบ แล้วลุกลามจนเกิดทั่วทั้งใบ ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ไม่สามารถสร้างลำที่สมบูรณ์ได้ หากเกิดรุนแรงใบจะขาวทั้งกอและแห้งตาย หรือมีอาการแตกกอเป็นฝอย คล้ายหญ้า แต่ใบเป็นสีขาว ไม่พัฒนาเป็นลำ และแห้งตายในที่สุด

แมลงพาหะของโรคใบขาวในอ้อยมี 2 ชนิด คือ เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นหลังขาว เพลี้ยทั้งสองชนิดจะดูดกินน้ำเลี้ยงของอ้อย และวางไข่ในดิน โดยเฉพาะในดินทรายหรือดินร่วนทรายมากกว่าดินชนิดอื่น ในระหว่างที่เพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากอ้อยจะมีการถ่ายเชื้อไฟโตพลาสมาที่เป็นสาเหตุของโรคใบขาวอ้อยต่อไปเรื่อยๆ จนโรคระบาดลุกลามทั่วทั้งแปลง
การป้องกันกำจัด
- ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค
- เฝ้าระวังการระบาดของแมลงพาหะ คือ เพลี้ยจักจั่นลายจุดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นหลังขาว
- ขุดทำลายต้นที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งนอกแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อ
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงพาหะ แนะนำ อะวอร์ด40เอสซี 150 ซีซี + (ฟินิช 400 ซีซี หรือ เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี หรือ ไซปรอย35 200 ซีซี หรือ ดีฟีส50 400 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร ช่วยคุมไข่ ตัวเต็มวัยวางไข่น้อยลง ยับยั้งการลอกคราบ ตัดวงจรชีวิต ลดการระบาดในแปลง

หมายเหตุ
– เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารกลุ่มเดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสาร ควรผสมคัพเวอร์กรีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมสารทุกครั้ง
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife