homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย…โรคใบติดในทุเรียน

    เป็นโรคที่พบเห็นเสมอ และนับว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างร้ายแรงโรคหนึ่ง  แม้ว่าจะไม่ถึงกับทำให้ต้นทุเรียนตาย แต่ทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรมและเสียทรงต้นได้ ทำให้กิ่งใหญ่แห้งตาย พบมากในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูงและต้นทุเรียนมีทรงพุ่ม แน่นทึบ เชื้อราเข้าทำลายใบอ่อนได้ดีในช่วงฤดูฝน

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia  solani

ลักษณะอาการ

    ใบเพสลาดที่เป็นโรคจะมีจุด พบแผลช้ำคล้ายถูกน้ำร้อนลวกขึ้นกระจายบนใบ แผลมี ขนาดไม่แน่นอน ต่อมาขยายตัว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก่อนลุกลามไปที่ใบปกติข้างเคียงโดยเชื้อสาเหตุสร้าง เส้นใยยึดใบให้ติดไว้ด้วยกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งห้อยติด อยู่กับกิ่ง ก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง จนเกิด การลุกลามของโรคใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆใบที่เหลือจะค่อยๆ ร่วงจนเหลือแต่กิ่ง ซึ่งก็จะแห้งตามไปด้วย

การแพร่ระบาด

    เชื้อราสาเหตุโรคอาศัยพักตัวในเศษซากพืชหรืออินทรียวัตถุ ในดินได้เป็นเวลานาน เมื่อพบสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ สภาพที่มีฝนตกชุก มีความชื้นสูงสะสมใต้ทรงพุ่มตลอด เชื้อแพร่ระบาดไปกับดินและน้ำ สร้างเส้นใยเข้าทำลายใบ ข้างเคียงต้นปกติ จนหลุดร่วงลงดิน และกลายเป็นแหล่ง สะสมเชื้อต่อไป

การป้องกันและจำกัด

  1. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง โดยเฉพาะใบที่อยู่ด้านล่างๆ ให้มีการถ่ายเทของอากาศ ไม่ให้มีความชื้นสะสมใต้ทรงพุ่มมากเกินไป
  2. เก็บเผาทำลายเศษซากพืชเป็นโรคที่ร่วงอยู่ใต้ต้น เพื่อลดประมาณเชื้อสะสม
  3. ในพื้นที่ปลูกที่มีความชื้นสูงและมีการระบาดประจำไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนสูง เพื่อลดความสมบูรณ์ของการแตกใบ
  4. ช่วงแตกใบอ่อน หมั่นสำรวจอาการของโรคอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า เริ่มมีการระบาดให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรค สารเคมีที่ยูนิไลฟ์แนะนำ  ไมโครบูคอป อัตรา 200 กรัม/น้ำ 200 ลิตร หรือ เบนเอฟ อัตรา 200 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร หรือ ชีคไบท์ อัตรา 300 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้น 

เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen