homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคยางไหล ในพืช ตระกูลส้ม

       อาการยางไหล บริเวณกิ่งและโคนต้นซึ่งพบมากในส้มโอและมะนาวนั้น มีความสัมพันธ์กับโรคทริสเตซ่าซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และมักจะพบ เชื้อรา Botryodiplodia sp. ร่วมกับการขาดธาตุอาหารบางชนิด

  

         โคนต้นจะเห็นเป็นแผลแตกแห้งแข็ง มีน้ำยางออกมาเคลือบติดบนผิวของเปลือกลำต้น ส่วนใหญ่จะพบอาการยางไหลบริเวณโคนต้นหรือตามง่ามกิ่ง เปลือกบริเวณที่มียางไหลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลส่วนอาหารที่กิ่งมักจะพบปลายกิ่งแห้งเป็นสีน้ำตาลลามจากยอดลงมาเชื้อราที่ทำให้เกิดยางไหลนี้สามารถทำให้ผลส้มเน่าได้ ในกรณีที่เกิดกับผลที่อยู่บนต้น ผลส้มจะหลุดร่วง มักพบจุดสีดำเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กๆ บนแผลเน่า

  

         โรคยางไหล เกิดขึ้นจากการขาดธาตุอาหาร เช่น ธาตุโบรอน(B) และธาตุทองแดง(Cu) จะสังเกตได้ว่าส้มเกิดยางไหลตามลำต้นและกิ่งก้านทั่วๆ ไป ไม่จำกัดที่และไม่มีบาดแผลสีน้ำตาลดำ พบเพียงรอยแตกปริ ของเปลือกขนาดเล็กๆ แล้วจึงมียางไหลออกมา แผลที่ยางไหลออกมาแล้วไม่ขยายลุกลาม นอกเสียจากว่ามีเชื้อเข้าทำลายซ้ำเติมตามรอยปริเล็กๆ นั้น

โรคยางไหล ที่เกิดจากมีแมลงเจาะกัดกิน สังเกตได้โดยบริเวณที่มียางไหลจะมีร่องรอยของการเจาะกัดกิน หรือทำลายของแมลงหรืออาจมีสิ่งขับถ่ายติดปะปนอยู่กับยางที่ไหลออกมา

แนวทางการแก้ไข

● หลังตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค ตัด เฉือน ถากส่วนเปลือกของกิ่งและต้นที่เป็นโรค จากนั้นทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สับรา 30 กรัม ร่วมกับ ซีวิว 30 ซีซี และ นีโอ-ไมเนอร์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

  

โรคยางไหลที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารสามารถรักษาได้โดยการฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมให้ทางใบ ไมโครบลูคอป 20 กรัม + นีโอ-ไฮแคล 20 ซีซี + ซีวิว 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพราะต้นส้มที่ให้ผลผลิตแล้วมีความต้องการแร่ธาตุอาหารหลายชนิดเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต

โรคยางไหล ที่เกิดจากแมลงทำลายกลายเป็นแผล ควรรีบกำจัดแมลง ด้วย ฟิพเปอร์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วจึงทายารักษาบาดแผล ด้วย สับรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

  



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen