homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรครากเน่าโคนเน่าของพริก

   โรครากเน่าโคนเน่าในพริกเกิดจากเชื้อราสาเหตุหลายชนิด ลักษณะอาการที่มักได้พบบ่อยและเรียกชื่อตามอาการนั้นคือ “โรคเหี่ยวเหลือง” เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium oxysporum) เริ่มแรกเชื้อจะเข้าทำลายโคนต้น และรากเน่าขาดติดอยู่ในดิน ท่อน้ำท่ออาหารเสียหาย ทำให้ใบมีอาการเหลืองและเหี่ยว หากรุนแรงจะพบรอยช้ำที่โคนต้นและต้นหักพับ  จากนั้นโรคจะลามจากโคนต้นขึ้นสู่ส่วนบน ใบที่เหลืองจะเริ่มแห้งเป็นสีน้ำตาล และเหี่ยวตายทั้งต้น โรคเกิดรวดเร็วภายใน 2-7 วัน หลังเชื้อเข้าทำลาย

   เชื้อสาเหตุอีกชนิดที่ทำให้เกิดอาการโคนเน่า คือ เชื้อสเคอโรเทียม (Sclerotium rolfsii) โดยพริกจะแสดงอาการเหี่ยวและใบเหลืองรวดเร็วเช่นกัน แต่บริเวณโคนต้นจะพบเส้นใยของเชื้อราสีขาว ต่อมาเส้นใยจะรวมตัวเป็นเม็ดเล็กๆสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ คล้ายเมล็ดผักกาด จึงมักเรียกว่า “โรคราเม็ดผักกาด” สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพริก

การแพร่ระบาด

            หากสภาพอากาศมีความร้อนและความชื้นสูงช่วงฝนตกหนัก เชื้อจะแพร่ระบาดไปกับน้ำ ฝน ลม และส่วนขยายพันธุ์ได้ดี และพบมากในดินที่เป็นกรด

 

การป้องกันกำจัด

  1. ควรไถพลิกดินตากแดด เพื่อกำจัดเชื้อที่สะสมอยู่ในดินก่อนปลูก
  2. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังราก
  3. ควรจัดระยะปลูกให้เหมาะสม เพื่อให้โคนต้นโปร่ง แดดส่องถึง ลดการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุ
  4. หากพบต้นเป็นโรค ให้ถอนต้นและขุดดินบริเวณนั้นทำลายทิ้งนอกแปลง
  5. กำจัดเศษซากพืชและวัชพืชในแปลง เพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรค
  6. ป้องกันกำจัดโรคด้วย ซับลา 30 กรัม หรือ เมทาแลกซิล 30 กรัม หรือ มิลล่า 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  7. หลังจากกำจัดโรคแล้ว ควรฟื้นฟูระบบราก โดยใช้ ยูโอนิกซ์ 30 ซีซี + นีโอ-ไฟต์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อทำให้เกิดรากใหม่ ทำให้ต้นแข็งแรงขึ้น

สอบถามเพมเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

แหล่งที่มา เตือนภัยการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร

 



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen