
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz.
ลักษณะอาการ
โรคหอมเลื้อย หรือ โรคแอนแทรคโนส ในพืชตระกูลหอม (หอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง) เชื้อราจะเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืช เช่น ใบ กาบใบ คอ หรือส่วนหัว ทำให้เกิดเป็นแผล ทำให้เนื้อแผลเป็นแอ่งต่ำกว่าระดับผิวเล็กน้อย บนแผลมีสปอร์ของเชื้อราเป็นหยดของเหลวสีส้มอมชมพู เมื่อแผลแห้งแล้วจะเป็นตุ่มสีดำเล็กๆเรียงเป็นวงซ้อนกันหลายชั้น ทำให้ใบเน่าเสียหาย ต้นหอมแคระแกร็น ใบบิดโค้งงอ หัวลีบยาว ทำให้เกิดอาการหอมเลื้อยไม่ลงหัว ระบบรากสั้น ทำให้ต้นหอมเน่าเสียหาย เก็บเกี่ยวไม่ได้ หรือไปแสดงอาการเน่าเสียในช่วงเก็บรักษา



วิธีป้องกันกำจัด
- หลีกเลี่ยงการปลูกหอมในช่วงฤดูฝนตกชุก ยกร่องสูงเพื่อให้มีการระบายน้ำที่ดี
- เก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาทําลายทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค
- พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค แนะนำ
ป้องกัน : บิซโทร 40 กรัม สลับ เบนเอฟ 30 ซีซี สลับ อินดีฟ 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
รักษา : แซสซี่ 20 ซีซี สลับ รัสโซล 15 ซีซี สลับ แอพโพช 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife