homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง

   โรคหัวเน่าในมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Phytophthora spp., Fusarium spp., Diplodia spp., Pyhthim spp. และ Sclerotium rolfsii สามารถเข้าทำลายได้ในทุกระยะของการเจริญเติบโต มักเกิดในดินที่มีการระบายน้ำยาก เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือมีชั้นดินดานอยู่ใต้ดิน หรือปลูกบนพื้นราบโดยไม่ยกร่องปลูก นอกจากนี้ ดินมีอินทรียวัตถุมากเกินไปอย่างเช่นป่าเปิดใหม่และอยู่ในสภาพที่มีฝนตกชุกมากเกินไป โรคนี้ทำให้ผลผลิตลดลง 80%

   การแพร่กระจายของเชื้อสาเหตุ จะอาศัยน้ำเป็นตัวพา หากเกิดในต้นที่ยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาล โดย ระบบรากเสียหาย การดูดน้ำดูดอาหารมีปัญหา ใบเหี่ยว เหลือง และร่วง ถ้าเกิดอย่างรุนแรงต้นจะแห้งตายได้ หากเกิดในช่วงเป็นหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็วและมีกลิ่นเหม็น บางครั้งพบเส้นใยเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุม โรคหัวเน่าที่พบในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ โรคหัวเน่าเละ โรคหัวเน่าแห้ง และโรคหัวเน่าคอดิน

การป้องกันและกำจัด

1. ก่อนปลูก ควรเก็บเศษเหง้าหรือเศษซากมันสำปะหลังเผาทำลายทิ้ง

2. ควรมีการไถตากดินกำจัดเชื้อโรคอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และควรยกร่องปลูกเพื่อช่วยระบายน้ำในช่วงฤดูฝน ป้องกันน้ำขังรากในพื้นที่ปลูก

3. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ และแช่ท่อนพันธุ์เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อโรค เพลี้ยแป้งเพลี้ยหอยที่มักติดมากับท่อนพันธุ์ พร้อมกระตุ้นการแตกราก แนะนำ คัพเวอร์กรีน 50 ซีซี + เมทาแลกซิล 300 กรัม + เท็นสตาร์ 100 ซีซี (หรือ ไอมิด้า 16 กรัม) + ซีวิว 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

4. เมื่อเกิดการระบาดในระหว่างการปลูก แนะนำให้ป้องกันกำจัดโรค พร้อมกระตุ้นให้พืชทนโรคด้วย ซับลา 300 กรัม หรือ ชีคไบท์ 300 ซีซี หรือ เมทาแลกซิล 300 กรัม โดยใช้ร่วมกับ นีโอ-ไฟต์ 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

5. ในพื้นที่ดินที่มีระบาดของโรคนี้มาก่อน ควรปลูกพืชหมุนเวียนประเภทธัญพืชอย่างเช่น ข้าวและอ้อย เพื่อตัดวงจรของเชื้อโรคนี้อย่างน้อย 1 ปี

 

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร, สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen