homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคเน่าเละผักกะหล่ำ

     เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. Carotovorum เชื้อโรคสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืช เริ่มแรกแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ แล้วขยายลุกลาม แผลเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลไหม้ แผลยุบตัวลง เนื้อเยื่อเปื่อยยุ่ย ดึงเบาๆจะขาดหลุดติดมือได้ง่าย มีน้ำหรือเมือกเยิ้มจากแผล เน่าและส่งกลิ่นเหม็นฉุนเฉพาะตัวอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน ระบาดมากช่วงฤดูฝนหรือช่วงมีความชื้นสูง อาจทำให้พืชยุบหายไปทั้งต้นหรือทั้งหัว หรือฟุบแห้งเป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน และลุกลามไปสู่ต้นที่อยู่ใกล้เคียง มักเกิดบริเวณก้านใบหรือใบที่ห่อเป็นหัวชั้นนอกสุดที่ติดกับระดับผิวดินก่อน แล้วค่อยขยายลึกเข้าไปข้างใน นอกจากนี้ยังเกิดร่วมกับโรคไส้ดำที่มีสาเหตุมาจากการขาดโบรอน เนื่องจากพืชตระกูลกะหล่ำต้องการสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และกวางตุ้ง เป็นต้น

การป้องกันรักษา

  1. หมั่นสำรวจแปลง หากพบต้นใดต้นหนึ่งแสดงอาหารให้นำไปทิ้งนอกแปลง
  2. ก่อนปลูกควรไถพรวนดินให้ลึกมากกว่า 20 ซม. จากผิวดิน และตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุในดินได้มาก
  3. ไม่ควรปลูกพืชแน่นเกินไป ควรมีการระบายน้ำที่ดี เพื่อไม่ให้มีความชื้นสูง จะช่วยลดการระบาดของโรค
  4. ระวังไม่ให้พืชเกิดแผล เพราะเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าทำลายพืช
  5. ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์หลังใช้ เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปต้นอื่น
  6. หลังเก็บเกี่ยว ควรไถกลบเศษพืชผักทันทีและตากดินทั้งไว้ระยะหนึ่งแล้วไถกลบอีกครั้ง ลดการสะสมของโรค
  7. ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด เป็นต้น
  8. ควรดูแลไม่ให้พืชขาดธาตุแคลเซียมและโบรอน เพราะพืชจะไม่แข็งแรง เกิดแผลจากปลายใบไหม้และไส้กลวง เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายได้ง่าย แนะนำ นีโอ-ไฮแคล 30 ซีซี หรือ แคลเคียร์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  9. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค แนะนำ ไมโครบลูคอป 20 กรัม หรือ มิลล่า 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen