homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคใบจุดสีน้ำตาล

สาเหตุ เชื้อรา Bipolaris oryzae (Helminthosporium oryzae Breda de Haan.)

ลักษณะอาการ

     พบมากในระยะแตกกอ แผลมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเมล็ดด่าง แผลจะปกคลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย การแพร่ระบาด เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ดพันธุ์

การป้องกันกำจัด

1. ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ เช่น ภาคกลางใช้พันธุ์ปทุมธานี 1 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง และหางยี 71

2. ปรับปรุงดินโดยการไถกลบฟาง หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินโดยการปลูกพืชปุ๋ยสด หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค

3. คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซบ อัตรา 3 กรัม / เมล็ด 1 กิโลกรัม

4. ใส่ปุ๋ย ปุ๋ยยูโอนิกซ์9-9-29 อัตรา 5 กิโลกรัม / ไร่ ช่วยทำให้ข้าวเป็นโรคน้อยลง

5. หากพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาล 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ในระยะข้าวแตกกอ หรือในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง หรือพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธงในสภาพฝนตกต่อเนื่อง หรือมีหมอกน้ำค้างทำให้ความชื้นสูง ควรพ่นด้วยสาร บิซโทร 300-400 กรัม หรือ เบนเอฟ 200 ซีซี หรือ รัสโซล 100-150 ซีซี หรือ แอพโพช 100 ซีซี หรือ อินดีฟ 100-150 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และเสริมความแข็งแรงของต้นข้าว โดยใช้ นีโอ-ไฟต์ 300 ซีซี + นีโอ-ไฮแคล 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ด้วยทุกครั้ง

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen