homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคแอนแทรคโนสในพริก

โรคแอนแทรคโนสในพริก

 

โรคแอนแทรคโนส หรือ โรคกุ้งแห้งพริก จัดเป็นโรคที่เกษตรกรผู้ปลูกพริกมักประสบปัญหาอยู่เสมอ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรคประจำตัวของพริก โดยโรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. ซึ่งมี 3 ชนิดที่เข้าทำลายพริก คือ

1. Collectotrichum gloespoloides เข้าทำลายพริกผลใหญ่เป็นหลัก

2. Collectotrichum capcisi เข้าทำลายพริกผลเล็ก (พริกในกลุ่มพริกขี้หนู) เป็นหลัก

3. Collectotrichum piperatum เข้าทำลายพริกยักษ์ (พริกหวาน) เป็นหลัก

ลักษณะอาการ

      ผลพริกจะมีอาการเริ่มเป็นแผลหรือจุดช้ำเป็นแอ่งยุบลง ลักษณะอาจกลมหรือไม่แน่นอน ขนาดตั้งแต่จุดเล็กๆ ไปจนเต็มความกว้างของผลพริก อาจมีเพียงแผลเดียวหรือหลายแผลก็ได้ แผลเหล่านี้ต่อมาจะแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือดำพร้อมกับการสร้าง fruiting body ซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์หรือโคนิเดีย เป็นจุดสีเหลืองส้มหรือน้ำตาลดำเป็นวงๆ เรียงซ้อนกันอยู่ที่แผลดังกล่าว ในระยะที่ผลเริ่มสุกเมื่อมีความชื้นสูงจะพบเมือกสีส้มหรือสีชมพูเป็นหยดเหลวข้นบริเวณแผล เชื้อจะเข้าทำลายผลพริกได้ทุกระยะการเจริญตั้งแต่เริ่มเป็นผลเล็กๆ จนโตเต็มที่และสุกแดงแล้ว

      หากเป็นระยะที่พริกยังอ่อนเซลล์บริเวณแผลซึ่งถูกทำลายจะหยุดการเจริญเติบโต แต่ส่วนรอบๆแผลจะเจริญต่อไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดอาการโค้งงอหรือบิดเบี้ยวขึ้น โดยมีแผลหรือเซลล์ที่ตายอยู่ด้านใน ลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง เป็นที่มาของชื่อโรค

 

การป้องกันกำจัด

    1. เลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรค

    2. เก็บส่วนที่เป็นโรคทำลายทิ้งนอกแปลง ลดการแพร่ระบาดของโรค

    3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ป้องกันใช้ บิซโทร 30 กรัม หรือ เบนเอฟ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร การรักษาใช้ แซสซี่ 10 ซีซี หรือ อินดีฟ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา : สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ / โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ (พิสุทธิ์ เอกอำนวย)



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen