homescontents
เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
babilbet giriş jascasino giriş jascasino güncel giriş jascasino yeni giriş jascasino yeni giriş ilbet yeni giriş tulipbet yeni giriş piabella casino bahisbudur giriş betmoney giriş starzbet yeni giriş megapari yeni giriş levantcasino giriş radabet yeni giriş bahisbey yeni giriş Bircasino yeni giriş diyarbet yeni giriş runtobet yeni giriş
สาระน่ารู้ข่าวสาร

3 โรคสำคัญ ที่ทำลายระบบรากยางพารา

     ยางพาราระบบรากเสียหายจะกระทบต่อการเจริญเติบโต ถ้าโรครุนแรงจะทำให้ใบเหลืองทั้งต้น ใบร่วง และยืนต้นตายได้ โรคที่สำคัญในระบบรากยางพารามี 3 โรคดังนี้

     1. โรครากขาว ทำลายทุกระยะ ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่โคนและรากพบเส้นใยเชื้อราปกคลุม เส้นใยอ่อนสีขาว เส้นใยแก่เป็นเส้นกลมนูนสีส้ม เนื้อไม้ระยะแรกจะแข็งและมีสีน้ำตาลอ่อน ระยะลุกลามเนื้อไม้จะมีสีขาวหรือสีครีมและแข็งกระด้าง ต่อมาเนื้อไม้จะเบาและฟ่าม หากอยู่ที่ชื้นแฉะเนื้อไม้จะเปื่อยยุ่ย อาจพบดอกเห็ดสีส้มแก่และส้มอ่อนสลับเป็นวง ขอบสีขาว และมักขึ้นซ้อนกันเป็นชั้นๆ

อาการโรครากขาว (Rigidoporus microporus)

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร 2555

     2. โรครากน้ำตาล รากและโคนต้นจะขรุขระด้วยเม็ดดินกรวดหรือเม็ดทราย เส้นใยเชื้อราสีขาวละเอียดในเปลือกไม้ และเส้นใยบนผิวรากจะละเอียดสีน้ำตาลปนเหลืองเหมือนกำมะหยี่ เนื้อไม้ระยะแรกเป็นสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาเป็นสีขาวมีรอยประสีน้ำตาลในเนื้อไม้ ต่อมาพบเส้นเดี่ยวสีน้ำตาลดำแทรกอยู่ในเนื้อไม้ รากจะฟ่ามแห้งและเบา เนื้อไม้คล้ายรวงผึ้งมีเส้นใยสีขาวเหลือง ดอกเห็ดแข็งและเปราะสีน้ำตาลเข้ม ขอบดอกสีขาว ถ้าอายุมากจะเห็นรอยย่นเป็นวงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ

อาการโรครากน้ำตาล (Phellinus noxius)

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร 2555

     3. โรครากแดง ทำลายรากและโคนต้นคล้ายโรครากน้ำตาล แต่เนื้อดินที่เกาะจะละเอียดกว่า เส้นใยอ่อนสีขาวครีมละเอียดมาก เมื่อเส้นใยแก่จะจับกันเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงมันวาว เนื้อไม้ระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลซีด และกลายเป็นเนื้อฟ่ามและเบา ต่อมาจะคล้ายโรครากขาว แต่พบวงปีของเนื้อไม้หลุดแยกออกจากกันได้ง่าย ดอกเห็ดสีน้ำตาลและมีรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้มใกล้ขอบดอก ด้านล่างเป็นสีขาวหรือสีครีม

อาการโรครากแดง (Ganoderma pseudoferreum)

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร 2555

วิธีป้องกันกำจัด

  1. ควรสำรวจแปลงสม่ำเสมอทุก 3 เดือน ตรวจดูพุ่มใบเพื่อหาต้นที่เป็นโรค หากเป็นโรครุนแรงในต้นอายุน้อยกว่า 3 ปี ควรทำลายทิ้ง ต้นอายุมากกว่า 3 ปี ควรขุดคูล้อมบริเวณต้นที่เป็นโรค เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม
  2. ใช้สารเคมี รัสโซล 20 ซีซี หรือ แอพโพช 20 ซีซี หรือ อินดีฟ 10 ซีซี ร่วมกับชุดเรียกราก ยูโอนิกซ์ 30 ซีซี + ยูเฟียต ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงโคนต้น 2-4 ลิตร (ขึ้นอยู่กับขนาดโคนต้น) ควรใช้ 2-3 ครั้ง ทุก 10-15 วัน หลังจากนั้นป้องกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกำจัดโรค สร้างระบบรากใหม่ และปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรด ยับยั้งการเกิดโรคครบวงจร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen